วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้


รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/1

มาตรฐานการเรียนรู้ : เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต

หน่วยการเรียนรู้ที่1 : อิทธิพลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของสังคม จำนวน 1 ชั่วโมง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พฤติกรรมทางเพศและการดำเนินชีวิต เวลา 1 ชั่วโมง

สอน วันที่ 8 เดือน กันยายน พ.ศ. 2553

...................................................................................................................................................................................................



ผลการเรียนรู้ที่ 1 ( ตัวชี้วัด )

วิเคราะห์อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ และการดำเนินชีวิต

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้ นักเรียนต้องมีความพยายามที่จะฝักใฝ่ในความรู้ในเรื่อง ของการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ

2. รักความเป็นไทย นักเรียนต้องรู้จักในการรักษาขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยเอาไว้

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1.ความสามารถในการสื่อสารถ่ายทอดความรู้ที่ได้เรียนมาแก่บุคคลอื่นได้

2.ความสามารถในการแก้ปัญหานำความรู้ที่ได้มาใช้แก้ปัญหา

3. ความสามารถ ในการใช้ทักษะชีวิต นำความรู้ที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวัน





สาระการเรียนรู้

การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น

1.1 การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการทางร่างกาย

สาระสำคัญ

เมื่อเด็กหญิงอายุย่าง13-15 ปี หรือเด็กชายอายุย่าง14-17ปี นับได้ว่าย่างเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยแตกเนื้อหนุ่มสาว ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่สำคัญ ดังนี้

1) เพศชาย มักจะเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะวัยรุ่นช้ากว่าเพศหญิง1-2ปี เมื่อเพศชายย่างเข้าสู่วัยรุ่นร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในตอนต้นและลดอัตราการเจริญเติบโตให้ช้าลง เมื่อเข้าสู่ระยะวัยรุ่นตอนปลาย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นชาย คือ ร่างกายจะขยายใหญ่และสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แขนขายาวและใหญ่ขึ้น น้ำหนักส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเมื่ออายุประมาณ 17-19 ปีหลังจากนั้นส่วนสูงอาจเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อมากขึ้นและแข็งแรงขึ้น ไหล่กว้างขึ้น ทำให้ดูแข็งแกร่งสมเป็นชาย มีขนขึ้นตามบริเวณหัวเหน่า อวัยวะเพศ และรักแร้ มีขนขึ้นตามแขนและหน้าแข้ง หนวดเคราเริ่มหยาบขึ้นเสียงเริ่มห้าวขึ้น อวัยวะเพศมีขนาดใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ และสามารถผลิตเซลล์สืบพันธ์หรืออสุจิได้แล้ว ระยะวัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้จะสิ้นสุดลงเมื่ออายุประมาณ19-21 ปี

2) เพศหญิง พัฒนาการเจริญเติบโตของวัยรุ่นหญิงนั้นจะเร็วกว่าชายประมาณ2ปี ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และค่อยๆ ลดอัตราการเปลี่ยนแปลง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นตอนปลายเช่นเดียวกับวัยรุ่นชาย ซึ่งระยะนี้ลักษณะและขนาดของอวัยวะต่างๆจะใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายภายนอกหลายอย่าง คือแขนขายาวขึ้น มือใหญ่ขึ้น สะโพกขยายออก เต้านมเจริญเติบโตขึ้น มีขนขึ้นตามบริเวณหัวเหน่าอวัยวะเพศและรักแร้ร่างกายจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่ออายุประมาณ14ปี และอาจสูงขึ้นอีกเล็กน้อยหลังอายุ15 ปี และมีความสูงคงที่เมื่ออายุ17-18ปี กล้าเนื้อและกระดูกจะแข็งแรง อวัยวะต่างๆ สามารถทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายภายในนั้นต่อมเพศจะหลั่งฮอร์โมนออกมากระตุ้นให้รังไข่เจริญเติบโตและสุกเกิดการตกไข่ และมีประจำเดือนหรือระดูซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงการย่างเข้าสู่วัยรุ่นที่แท้จริงของเพศหญิง เพราะการมีประจำเดือนเป็นการแสดงออกถึงวุฒิภาวะทางเพศที่เจริญเต็มที่สามารถให้กำเนิดทารกได้และจะสิ้นสุดระยะวัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ18-21ปี

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของร่างกายนี้ ทำให้เด็กวัยรุ่นต้องทำความเข้าใจกับภาวะความเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อรักษาสุขภาพอนามัยของร่างกายให้เหมาะสม รวมทั้งวัยรุ่นยังมีปัญหาอีกหลายประการที่จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและรุ้จักสร้างกฎเกณฑ์มาตรฐานของชีวิตแบบผู้ใหญ่

1.2 การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ

อารมณ์ของเด็กวัยรุ่นทั้ง2เพศมักรุนแรง แสดงความรู้สึกอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา จะไม่ยอมใครง่ายๆ ในขณะเดียวกันก็จะเป็นคนที่โอบอ้อมอารีและเห็นแก่ตัวอย่างเด็กๆแม้วัยรุ่นจะมีร่างกายเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วแต่ยังมีความเป็นเด็กอยู่ มีสิ่งต่างๆที่ไม่เข้าใจ สงสัย ฉะนั้นต้องการความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ต้องการความเห็นอกเห็นใจต้องการผู้ให้กำลังใจและความช่วยเหลือแนะนำที่ถูกต้อง ในเรื่องความสนใจและการเรียนรู้เรื่องเพศความต้องการเป็นอิสระ ความเป็นตัวของตัวเอง การคบเพื่อน การเข้าหมู่เข้าพวก และการตั้งครรภ์จุดมุ่งหมายเกี่ยวกับชีวิตตัวเอง ปัญหาต่างๆ ของวัยรุ่นจึงมักไม่สิ้นสุดลงในช่วงนี้จะต่อเนื่องต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ด้วย

1.3 การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางกายอารมณ์ และความคิดของเด็กในวัยรุ่นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วย เมื่ออยุ่บ้านชอบเก็บตัวตามลำพัง ไม่ต้องการให้ใครรบกวน แต่เมื่ออกสังคมภายนอก กลับต้องการสังคมที่กว้างขึ้น วัยรุ่นทั้งชายหญิงจึงเลือกคบเพื่อนโดยใช้เหตุผล อาจคบเพราะคนนั้นแจ่มใส ถูกใจ เรียนเก่ง หรือสุภาพอ่อนโยนเป็นต้น วัยนี้จะสนใจกีฬามาก มักชอบเล่นหรือติดตามดูเพื่อนเมื่อตนเองไม่ได้เล่น มักสนใจเด็กชายที่มีอายุมากกว่าตนเอง ความอยากเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อนมักประพฤติตนในสิ่งที่เพื่อนๆเห็นชอบถ้าผู้ใหญ่เข้าใจ จะช่วยให้วัยรุ่นปรับตัวเข้าในสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยง่าย

พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น

การเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด คือ การมีความสนใจในเพศตรงข้ามและการมีอารมณ์ทางเพศนับว่าเป็นอาการปกติเมื่อเติบโตถึงวัยนี้ ปัญหาที่เกิดจากอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นประการหนึ่ง คือความสัมพันธ์ทางความรักระหว่างชายหญิง การวางตัวต่อเพศตรงข้าม และการระบายอารมณ์ทางเพศ จึงจำเป็นที่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ต้องให้ความเข้าใจในเรื่องนี้ด้วยเพื่อวัยรุ่นจะได้สนองความต้องการของตนดังกล่าว ภายใต้การสังเกตุและแนะนำจากผู้ใหญ่ได้ถูกต้อง เพื่อให้วัยรุ่นมีเจตคติที่ดีต่อความรักระหว่างหนุ่มสาว และมีความเชื่อมั่นในบุคลิกของตนเอง สามารถปฏิบัติตนอยู่ในครรลองครองธรรมและเป็นที่ยอมรับของสังคม

2.1 การเกิดอารมณ์ทางเพศ

อารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นทั้งชายหญิงที่เห็นได้ชัดคือ อารมณ์รักเพศตรงข้าม มีอารมณ์ทางเพศ อยากรุ้อยากเห็นอยากลองเลียนแบบ หากวัยรุ่นไม่รู้จักครองตนหรือขาดความรู้เรื่องเพศที่เหมาะสม ขาดการดูแลจากผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง อาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมได้ เช่น

1. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือการชิงสุกก่อนห่าม

2. การล่อลวง ข่มขืน เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่นการเที่ยวกลางคืนตามแหล่งบันเทิง หรืออินเตอร์เน็ตเป็นต้น

3. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากความผิดพลาดหลังจากมีเพศสัมพันธ์

4. ปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ เกิดจากการเลี้ยงดูแบบผิดๆ สภาพแวดล้อม สิ่งยั่วยุที่ส่งผลต่อสภาพจิตที่ผิดปกติ

2.1 การจัดการอารมณ์ทางเพศอย่างเหมาะสม

ระดับที่1 การควบคุมอารมณ์ทางเพศ

1. การควบคุมจิตใจของตนเอง ยึดมั่นในศีลธรรมอันดีงาม ฝึกนั่งสมาธิเพื่อควบคุมอารมณ์ได้อีกวิธีหนึ่ง

2. การหลีกเลี่ยงจากสิ่งเร้าหรือสิ่งยั่วยุ ไม่อยู่กับเพศตรงข้ามตามลำพัง ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สารเสพติด เลี่ยงสถานที่ที่จะนำไปสู่การเกิดอารมณ์ทางเพศ เป็นต้น

ระดับ2 การเบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศ

1. พยายามศึกษาเล่าเรียน ให้สมองและจิตใจจดจ่อกับการเรียน

2. การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมหรือชมรมต่างๆ

3. ช่วยเหลือและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ

4. ใช้เวลาว่างในการออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาต่างๆ

5. มีความสนใจทางดนตรีหรือศิลปะ

6. มีเวลาในการผักผ่อนและนันทนาการบ้างตามสมควร

ระดับ3 การปลดปล่อยหรือการระบายอารมณ์ทางเพศ

เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ในการที่จะสนองต่อความใคร่ของตนเอง ไม่ขัดต่อศีลธรรม หากหมกมุ่นมากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นร่างกายอ่อนเพลีย ขาดความสดชื่น เป็นต้นการที่ไม่ให้จิตใจไปจดจ่อนับเป็นวิธีที่ดีที่สุด

3.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น

3.1 อิทธิพลที่เกิดจากตนเอง

1.พัฒนาการทางเพศ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ร่างกาย จิตใจ ทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมต่างๆออกไป

2. สภาพจิตใจและอารมณ์ อารมณ์วัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบางครั้งดี บางครั้งมีอารมณ์รุนแรง

3. ผลจากการถูกล่วงละเมิด การถูกล่วงละเมิดย่อมเป็นผลกระทบต่อวัยรุ่นทั้งทางกาย จิตใจและอารมณ์

4. ผลจากการใช้สารเสพติด นอกจากมีผลเสียต่อตนเอง ครอบครัว สังคมแล้ว ยังมีผลกระทบต่อร่างกาย กระตุ้นอารมณ์ต่างๆรวมถึงอารมณ์ทางเพศอีกด้วย

5. การขาดการนับถือตนเอง เช่นการไม่เห็นคุณค่าพรมจารีเพศหญิง การมีสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

6. การไม่ยึดคุณธรรมจริยธรรม ไม่รู้จักแยกแยะความดี ความชั่ว

3.2 อิทธิพลที่เกิดจากครอบครัว

1. ความสัมพันธ์ทางครอบครัว วัยรุ่นมักยึดเอาแบบอย่างการดำเนินชีวิต ของครอบครัว ถ้าครอบครัวดีมีการปรึกษากันก็จะทำให้วัยรุ่นมีความอบอุ่น เห็นคุณค่าของครอบครัวมากขึ้น

3.3 อิทธิพลที่เกิดจากเพื่อน

1.กลุ่มเพื่อน เพื่อนมีความสำคัญต่อชีวิตและจิตใจถ้าคบเพื่อนดีย่อมส่งผลต่อพฤติกรรม

3.4 อิทธิพลที่เกิดจากสังคมและวัฒนธรรม

1. สื่อมวลชน มีอิทธิพลทางความคิดมีทั้งดีและโทษ

1.1. สื่อสิ่งพิมพ์ ภาพต่างๆ เนื้อหาความรุนแรงของสิ่งพิมพ์เป็นต้น

1.2 สื่อละคร อาจเสนอเนื้อหาความรุนแรง การข่มขืน กอด จูบ อาจเกิดค่านิยมการเลียนแบบได้

1.3 อุปกรณ์สื่อสาร อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีต่างๆ

แนวทางการป้องกันความเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม

1. เลือกบริโภคสื่อที่เหมาะสมกับตนเองโดยศึกษาข้อดีและข้อเสีย

2. ไม่ควรวางใจหรือเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นใกล้ชิด

3. งดการใช้สารเสพติดทุกชนิดเพราะอาจเกิดการเสี่ยงต่อเพศสัมพันธ์ได้

4. หลีกเลี่ยงการดูสื่อลามากทุกประเภท

5. ทำกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ลดแรงกระตุ้นเรื่องเพศ



กิจกรรมการเรียนรู้

1. ครูอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาพฤติกรรมทางเพศและการดำเนินชีวิต

2. ครูให้นักเรียนซักถามเกี่ยวกับปัญหาเรื่องเพศหรือแนวทางป้องกันความเสี่ยงในเรื่องเพศ

3. ครูให้นักเรียนจับกลุ่มและช่วยกันคิดในเรื่องการวางตัวในสังคมว่าแต่ละกลุ่มมีวิธีในการวางตัวในเรื่องเพศที่ได้เรียนแล้วนั้นอย่างไรในสังคมแล้วบันทึกและส่งตัวแทนออกมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน เพื่อเป็นการนำเสนอความคิด ของบุคคลภายในกลุ่มและเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นของบุคคลภายในสังคม



สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน

1. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่อง พฤติกรรมทางเพศและการดำเนินชีวิต

2. กระดาษรายงาน





วิธีการวัดและประเมินผล

1. สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการตอบคำถามหรือถามข้อสงสัย

2. ประเมินจากความตั้งใจในการเรียนของนักเรียน

3. ประเมินจากงานที่ได้มอบหมายให้นักเรียน



ชิ้นงาน /ภาระงาน

1. จัดให้มีการจัดบอร์ดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต อิทธิพลของครอบครัว วัฒนธรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น